วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเห็ดยานากิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น


เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะในถุงพลาสติกซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาและการเพาะเลี้ยงคล้ายกับเห็ดนางฟ้าภูฏานเพียงแต่ความชื้นที่ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดดอกจะมีสูงกว่า และจะต้องมีการพักตัวเพื่อสะสมอาหารของก้อนเห็ด ก่อนจะนำไปเปิดดอกเหมือนเห็ดหอม และในปัจจุบันเห็ดโคนญี่ปุ่นกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในลักษณะของการจำหน่ายดอกเห็ดสดหรือเห็ดโคนญี่ปุ่นแปรรูปมีราคาที่ค่อนข้างสูงทีเดียวในบรรดาเห็ดที่สามารถเพาะได้ในถุงพลาสติกเรียกได้ว่า ไม่ถูกไปกว่าราคาของเห็ดหอมเลยทีเดียว ซึ่งรสชาดของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวคือจะมีหมวกดอกที่เหนียวนุ่มเหมือนเห็ดหอมแต่บริเวณขาของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะกรอบอร่อยเห็ดโคนญี่ปุ่นได้ผ่าน การพัฒนาสายพันธุ์มายาวนาน จนในปัจจุบันนี้สายพันธุ์ที่ส่งเสริม หรือ แนะนำให้เพาะจึงง่ายต่อการดูแลรักษาแต่ให้ผลผลิตสูงเห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่นเวลาเคี้ยวจะได้รสชาติดีทำอาหาร ได้ทั้งผัดและต้มแกง ให้คุณค่าทางอาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆปัจจุบันเริ่ม มีการเพาะเห็ดนี้กันมากขึ้น แต่ผลผลิตยังน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด
1.สิ่งสำคัญที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการทั่วไป
-ธาตุอาหารเกลือแร่และวิตามินหลัก
-ธาตุคาร์บอน (Carbon)
-ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen ,N.)
-เกลือแร่ (Minerals)
-ฟอสฟอรัส
-วิตามินหรือฮอร์โมน Vitamins
2.อุณหภูมิ Temperature อุณหภูมิก็นับว่ามีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดอยู่ไม่น้อย อุณหภูมิ 24 - 30 C เป็นอุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ของเส้นใยและดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น
3.ความชื้น Humidity องค์ประกอบเห็ดทุกส่วน ไม่ว่าเส้นใยเห็ดหรือดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากถึง 90% ยกเว้นสปอร์น้ำมีความจำ เป็นต่อกระบวนการต่างๆ และการรักษาสภาพอุณหภูมิภายในเซลล์ ดังนั้นทุกขั้นตอนของการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเจริญ เติบโตของเส้นใยเห็ด การเกิดดอกการเจริญเติบโตของดอกเห็ดล้วน แต่ต้องการความชื้นสูง โดยปกติแล้วเว้นเสียแต่ระยะที่ทำให้เกิดดอกต้องเปิด ปากถุงให้สัมผัสกับบรรยากาศ โดยจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 80-90 %
4.อากาศ (Air) คำว่าอากาศในที่นี้ หมายถึง ก๊าซออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ จากภายในวัสดุเพาะหรือโรงเรือนเพาะเห็ด ทุกระยะของการเจริญเติบโต ของเห็ดโคนญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ต้องการอากาศในการหายใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะของการสร้างและการเจริญเติบโตของดอกเห็ด
5.แสง (Light) ช่วงที่เส้นใยเห็ดเจริญเติบโต ไม่ต้องการแสง ช่วงที่เส้นใยสะสมอาหารและกำลังจะรวมตัวเป็นดอกเห็ด พบว่าแสงมีความจำเป็นในการ กระตุ้นให้เกิดเส้นใยของเห็ด รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดแสงรำไรที่ส่องเข้าไปในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ และทั่วถึงจะทำให้ดอกเห็ดพัฒนาได้สมบูรณ์ ดียิ่งขึ้นหากแสงไม่เพียงพอ ดอกเห็ดจะโน้มไปหาแสงที่มีความเข้มข้นสูง ในทางตรงข้าม หากแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะสีคล้ำและแห้งง่าย
6.ความเป็นกรด-ด่าง (PH) ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการอยู่ในระดับค่าเป็นกลาง 6.5-7.5
7.สารพิษ ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารประกอบที่มีพิษกับการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
วัสดุ อุปกรณ์ ที่สำคัญในการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
วัสดุเพาะ วัสดุเพาะที่นิยมมากที่สุด คือขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ไม้งิ้ว ไม้นุ่น ไม้ก้ามปู ไม้กระถินณรงค์ กากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะขาม ไม้ทุเรียน ไม้ขนุน ต้องทำการหมักสลายยางไม้เสียก่อน วัสดุเพาะที่นิยมกรณีที่ไม่มีขี้เลื่อย คือ ฟางข้าว ต้นข้าวโพดต้นข้าวฟ่าง วัสดุเพาะดังกล่าวนี้หากนำไปเพาะเห็ด จะทำให้ผลผลิตค่อนข้างสูงคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นไม้ รสชาติดีกว่า แต่ต้องทำการหมักจนกว่าวัสดุเพะจะนิ่มและหอม จึงจะสามารถนำไปเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นได้
สูตรอาหาร
เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้น การที่จะเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ก็ควรทำการเสริม หรือเติมธาตุอาหารที่เห็ดต้องการเข้าไปให้ครบถ้วน
สูตรทั่วๆไป
ขี้เลื่อยแห้ง 100 กก.
รำละเอียด 10 กก.
ใบกระถิ่นป่น 3 กก.
ข้าวโพดป่นหรือแป้ง 1 กก.
ส่าเหล้า 1 กก.
หินฟอสเฟต 1 กก.
ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว 1 กก.
ดีเกลือ 0.1 กก.
การบรรจุถุงพลาสติก
ถุงพลาสติกที่นำมาบรรจุวัสดุเพาะเห็ดนิยมใช้ถุงกันร้อน พับก้นเรียบร้อยแล้ว สำหรับวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย นิยมใช้ถุง ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้ว หนา 0.10 มม. ถ้าเป็นฟางใช้ 9x13 นิ้วหนา. 10มม. การบรรจุวัสดุเพาะลงในถุงนั้นควรบรรจุประมาณ 3 ใน 4ของความสูง กด ทุบ เพื่อให้วัสดุเพาะแน่นพอสมควรหรือพยายามให้อากาศเหลือน้อยที่สุดในถุง แล้วจึงใส่คอขวด อุดด้วยจุกประหยัดสำลี
การบ่มเชื้อ
หลังจากการใส่หัวเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นลงไปแล้ว นำเอาไปบ่มในห้อง สำหรับการบ่มเชื้อ หรือ โรงเรือนสำหรับเปิดดอกเลยในระยะ ที่ทำการบ่มเชื้อนั้น ไม่มีการรดน้ำ ไม่ต้องการแสง ดังนั้นภายในโรงบ่มมีเพียงแสงสลัวๆก็พอ เพราะถ้าหากแสงมากเกินไปเส้นใยเห็ดจะเจริญช้า และต้องการอุณหภูมิห้องธรรมดา ประมาณ 24-28 องศา - ในการบ่มก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น จะใช้เวลาประมาณ 50 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง แล้วจึงจะนำไปเปิดปากถุง
การเก็บเห็ด และนำไปขายในราคากิโลละ 150 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น